วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555


                                                                            
                                             ทฤษฎีโครงสร้าง - หน้าที่  (Structural  Functionalism)


             ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่  เป็นทฤษฎีหลักทางสังคมวิทยา และเป็นทฤษฎีที่ทางอิทธิพลทฤษฎีหนึ่งของสังคมวิทยา  นั่นหมายถึงเราสามารถใช้ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่  อธิบายหรือพยากรณ์  ทำความเข้าใจ  ปรากฏการณ์ทางสังคมได้อย่างชัดเจนและละเอียดในทุกระดับชั้นของสังคมโลกเป็นอย่างดี
ขอบข่ายของทฤษฎีโครงสร้าง - หน้าที่
               ถ้าเราจะศึกษาทฤษฎีโครงสร้าง - หน้าที่  ให้ครบถ้วนแล้วเราต้องศึกษาเรื่องใดบ้าง  เรื่องที่เราจะต้องศึกษามีดังต่อไปนี้คือ
1.         ทฤษฎีโครงสร้าง - หน้าที่คลาสสิก  (Classical  Structural  Functionalism)
2.         ทฤษฎีหน้าที่ของการชนชั้น  (The  Functional  Theory  of  Stratification)
3.         สิ่งจำเป็นของหน้าที่ในสังคม  (The  Functional  Prerequisites  of  Society)
4.         ทฤษฎีโครงสร้าง หน้าที่ของพาร์สัน  (Parsons’s  Structural  Functionalism)
ความสมานฉันท์และความขัดแย้ง   (Consensus  and  Conflict)
               ก่อนที่เรียนรู้ทฤษฎีโครงสร้าง หน้าที่  เราต้องรู้  ศัพท์  คือ
1.         ความสมานฉันท์  (Consensus)
2.         ความขัดแย้ง  (Conflict)
ทฤษฎีสมานฉันท์  มองที่บรรทัดฐานร่วม  (Shared  Norms  and  Values)  และค่านิยมร่วมว่าเป็นพื้นฐานของสังคม และมองที่ความเป็นระเบียบทางสังคม ขึ้นอยู่กับข้อตกลงโดยอ้อม ๆ(Social  Order)  และมองการเปลี่ยนแปลงทางสังคมว่า  เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ  และเป็นไปตามแฟชั่น
ทฤษฎีความขัดแย้ง  เน้นที่  การมีอิทธิพลต่อกลุ่มคนในสังคม   โดยคนอีกกลุ่มหนึ่ง  และมองเห็นความเป็นระเบียบของสังคมว่า  ขึ้นอยู่กับการใช้กลยุทธ์และควบคุม  โดยคนอีกกลุ่มหนึ่ง  และมองการเปลี่ยนแปลงทางสังคมว่าเกิดขึ้นโดยอย่างรวดเร็ว  และไม่เป็นไปตามแฟชั่น
ทฤษฎีโครงสร้าง - หน้าที่  (Structural  Functionalism)
               คำว่า  โครงสร้างกับหน้าที่”  ไม่ต้องใช้รวมกันก็ได้  เราสามารถแยกใช้ต่างกันได้  มาร์ก  อับราฮัมสัน  ได้ระบุทฤษฎีโครงสร้าง หน้าที่  ไว้  ระดับ 
               1.  Individualistic   Functionalism  (หน้าที่นิยมส่วนบุคคล)  =  ทฤษฎีนี้เน้นที่ความต้องการผู้กระทำ  (Actors)   โครงสร้างหน้าที่จึงปรากฏที่หน้าที่ที่สนองตอบต่อความต้องการ
               2.  Interpersonal  Functionalism   (หน้าที่นิยมกับผู้อื่น)  =  ทฤษฎีนี้เน้นที่ความสัมพันธ์ทางสังคม  (Social  Relationship)  โดยกลไกที่ขจัดความตึงเครียดที่มีอยู่ในความสัมพันธ์นั้น ๆ
               3.  Societal  Functionalism  (หน้าที่นิยมสังคม)  =   ทฤษฎีนี้เน้นที่โครงสร้างทางสังคมขนาดใหญ่และสถาบันทางสังคม  ความสัมพันธ์ระหว่างกันและบังคับ  ผลของการบังคับต่อผู้กระทำ
ทฤษฎีโครงสร้าง - หน้าที่แบบคลาสสิก 
               นักสังคมวิทยาแบบคลาสสิก  ท่าน  คือ  ออกุสค์  คองต์เฮอร์เบริต์  สเปนเซอร์  และอีมิล  เดอร์คไฮม์  มีอิทธิพลต่อทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่อย่างมาก
คองต์  มีความคิดแบบบรรทัดฐานเกี่ยวกับสังคมที่ดี  (Good  Society)  สังคมที่ดีต้องมีดุลยภาพ  (equilibrium)  เขานำเสนอทฤษฎีอินทรีย์ทางสังคม  (Organism)  โดยมองเปรียบเทียบสังคมกับอวัยวะทางร่างกายคล้าย ๆ กัน  โดยเฉพาะการทำหน้าที่  เขาจึงเรียกว่า  ทฤษฎีอินทรีย์ทางสังคม”  (Social  Organism )  เช่น  เขาเปรียบเซลส์เหมือนกับครอบครัว  และ

นเ
เนื้อเยื่อกับการแบ่งชนชั้นทางสังคม  อวัยวะกับเมือง  และชุมชน  เป็นต้น
สเปนเซอร์  ก็นำหลักอินทรีย์มาใช้เหมือนกัน  แต่เขามองที่สังคมทั้งหมด  โดยเน้นที่ตัวผู้กระทำเป็นหลัก  เขาแบ่งอินทรีย์ไว้เป็น  2 ระดับ คือ
1.         สังคม  (Social  Organism)
2.         ปัจเจก  (Individual  Organism)
ขณะที่ทั้ง  อย่างเจริญขึ้น  สิ่งที่ไม่เป็นอินทรีย์ไม่เจริญ  และยิ่งมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น  ยิ่งมีความสลับซับซ้อนและแตกต่างยิ่งขึ้น  ยิ่งแตกต่าง  ยิ่งทำให้หน้าที่แตกต่างไปด้วย  และต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน  ดังนั้น  ตัวไหนเปลี่ยนอีกตัวก็เปลี่ยน
เดอร์คไฮม์  ความสนใจของเขาอยู่ที่  Social  Organism  และการปฏิสัมพันธ์กัน  ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความต้องการทางสังคม  (Social  Need)  อันประกอบไปด้วย
1.         สาเหตุทางสังคม  (Social  Cause) 
2.         หน้าที่ทางสังคม  (Social  Function)
สาเหตุ  เกี่ยวกับว่าเหตุใดจึงมีโครงสร้างอย่างนี้และมีรูปแบบอย่างนี้
หน้าที่  เกี่ยวกับความต้องการการต่อระบบที่ขยายออกไปได้รับการตอบสนอง  โดยโครงสร้างที่ให้ไว้หรือไม่

 

ทฤษฎีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดชนชั้นทางสังคม

               ตามความคิดของ  Kingley  David &  Wilbert  Moore  คิงเลย์  เดวิด  และวิลเบริต์   มัวร์ ทั้งสองคิดว่า  การจัดชนชั้นทางสังคม  (Social  Stratification)  เป็นสากลและจำเป็นทุกสังคมต้องมีชนชั้น ชนชั้นมาจากเจตจำนงในการทำหน้าที่
1.         ในด้านโครงสร้าง มองว่าการจัดชนชั้นได้จัดบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งต่าง ๆ  ที่ได้รับความนับถือตาม  (ค่านิยมโดยมีเหตุจูงใจ  ประการ
1.1     ปลูกฝังให้บุคคลอยากเข้าสู่ตำแหน่งที่กำหนด
1.2    ทำตามบทบาทในตำแหน่งที่สังคมคาดหวังไว้


                  ดังนั้นการจัดบุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งที่เหมาะสมจึงเป็นระบบทางสังคมในทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
                  สิ่งจำเป็นพื้นฐานต่อหน้าที่หลักของสังคม (The Functional Prerequisite of Society ) ในการนิยามหน้าที่พื้นฐาน (Prerequisite) ก่อนเกิดหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ (Action System)  มี 4 อย่าง คือ
1.         การปรับตัว (Adaptation)
2.         การบรรลุเป้าหมาย (Goal Attainment)
3.         บูรณาการ (Integration)
4.         การธำรงไว้ซึ่งแบบแผน (Pattern Maintenance)
                  สังคมเกิดจาการต้องการอยู่รวมกันแบบสมานฉันท์ของสมาชิกในสังคม สิ่งที่ทำให้เกิดการสมานฉันท์ที่สมบูรณ์แบบคือ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (Potential  Communication) หมายถึง ระบบสัญลักษณ์ร่วม (Shared Symbolic systems )โดยผ่านการเรียนรู้ระเบียบทางสังคม (Socialization)   
                  สังคมต้องมีเป้าหมายร่วมกัน ถ้าต่างกันจะเกิดความวุ่นวาย ด้วยเหตุนี้สังคมจำเป็นต้องมีวิธีการในการกำหนดเป้าหมาย โดยใช้ระบบบรรทัดฐาน (Normative System) , ความสำเร็จของบุคคล  ถ้าไร้บรรทัดฐานแล้ว สังคมจะไร้ระเบียบและเดือดร้อน
                  สังคมต้องมีระบบการเรียนรู้ สำหรับคนในสังคมต้องเรียนสิ่งต่างๆ ทั้งสถานภาพในระบบชนชั้น ค่านิยมร่วม จุดหมายที่ยอมรับร่วมกัน การรับรู้ร่วมกัน ตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก จึงช่วยให้เกิดความร่วมมือและปฏิบัติที่สอดคล้องกับบรรทัดฐาน
                  สังคมต้องมีมาตรการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ ยอมรับในค่านิยมที่เหมาะสม เขาจะประพฤติอยู่ในกรอบของความถูกต้องดีงาม โดยความสมัครใจ